บทเรียนที่ 2

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
คืออุปกรณ์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ที่เห็นกันทั่วไป

คอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบหลักๆ คือ จอภาพ หน่วยประมวลผลกลาง แป้นพิมพ์ เมาส์ และเครื่องขับแผ่นดิสก์ ส่วนอุปกรณ์อื่น ๆ อาจนำมาประกอบเพิมเติม เช่น ซีดีรอมไดรฟ์ สำหรับใช้งานด้านสื่อประสม หรือ มัลติมีเดีย (Multimedia) โมเด็ม (Modem) ใช้สำหรับต่อเชื่อมเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นเป็นระบบเครือข่ายที่เรารู้จักกันในชื่ออินเทอร์เน็ต
ส่วนประกอบหลัก ๆ ของคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
1. เคส (Case) คือ ส่วนที่บรรจุอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ หน่วยความจำหน่วยประมวลผล เคสมีทั้งแบบแนวนอนและแนนตั้ง

2. แผงวงจรหลัก (Mainboard) ทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วนกัน เช่น ฮาร์ดดิสก์ ฟล็อปปี้ดิสก์ หน่วยความจำ หน่วยประมวลผลกลาง ฯลฯ
3. ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลและโปรแกรม ภายในจะมีข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ บรรจุอยู่
4. เครื่องขับคอมแพคดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูลบนแผ่นซีดี มีความสามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก
5. แรม ( RAM )เป็นหน่วยความจำหลัก (Main Memory) เป็นอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมขณะที่คอมพิวเตอร์กำลังทำการประมวลผล
6. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และทำการประมวลผลข้อมูล
7. เครื่องขับดิสก์ (Disk Drive) เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านและเขียนข้อมูลลงบนแผ่นดิสก์ มีขนาด 3.5 นิ้ว
8. แป้นพิมพ์ (Keyboard) ทำหน้าที่รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
9. เมาส์ (Mouse) ทำหน้าที่ชี้ส่วนต่างๆบนจอภาพ และเรียกโปรแกรมโดยการใช้เมาส์คลิกที่สัญรูปภาพ และเรียกโปรแกรมโดยการใช้เมาร์คลิกที่สัญรูป (Icon) ที่เป็นตัวแทนของโปรแกรมที่ต้องการ
10. จอภาพ (Monitor) ทำหน้าที่แสดงผลการประมวลในรูปของภาพ หรือข้อความ
เลเซอร์ปริ้นเตอร์ เครื่องพิมพ์แบบเข็ม (Dot Matrix) เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Inkjet)
11. เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์หน่วยแสดงผลโดยการพิมพ์ข้อมูลออกเป็นตัวอักษร ตัวเลข และ รูปภาพ
12. ลำโพง (Speaker) เป็นอุปกรณ์หน่วยแสดงผลในรูปของเสียง เช่น เสียงพูดเสียงดนตรี มีในคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบมัลติมีเดีย (Multimedia)
2. Software
3. Peopleware
บุคลากร (Peopleware)
บุคลากร คือ  ผู้ปฏิบัติงานตามกระบวนวิธีการในกิจกรรมต่างๆ  อันได้แก่  การสร้างหรือเก็บรวบรวมข้อมูล  บางกลุ่มอาจทำหน้าที่ในการพัฒนาซอฟท์แวร์ขึ้นมาใหม่ๆ  ตามความต้องการและในการประมวลผล  และอาจเปลี่ยนแปลงโปรแกรมที่มีอยู่แล้วให้สอดคล้องตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงในโอกาสต่างๆ   จะเห็นว่าบุคลากรทางคอมพิวเตอร์บางกลุ่มทำหน้าที่สร้างกระบวนการวิธีการให้แก่บุคลากรทางคอมพิวเตอร์กลุ่มอื่นๆ  ได้เพื่อให้การทำงานหรือใช้งานด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ
      บุคคลที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์มีหลายประเภท  ซึ่งแต่ละประเภทก็มีหน้าที่และความรับผิดชอบแตกต่างกันไปดังนี้
·         ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User)
·         ผู้ดูแลและซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ (Supporter)
·         ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer)
·         ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (System Analysis)
·         ผู้บริหารระบบคอมพิวเตอร์ (System Manager)

ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User) หมายถึงผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป สามารถทำงานตามหน้าที่ในหน่วยงานนั้นๆ เช่น การพิมพ์งาน การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคนิคต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ก็ได้
ผู้ดูแลและซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ (Supporter) หมายถึงผู้ดูแลและคอยตรวจสอบสภาพเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้มีสภาพความพร้อมที่จะทำงานได้ตลอดเวลา กลุ่มนี้จะเรียนรู้เทคนิคการรักษา ดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดการต่อเชื่อม ตลอดจนการใช้งานโปรแกรมต่างๆ ค่อนข้างดี
ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer) หมายถึงผู้เขียนโปรแกรมตามผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์เป็นผู้กำหนด เพื่อให้ได้โปรแกรมที่ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานในองค์กร กลุ่มนี้จะศึกษามาทางด้านภาษาคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ สามารถเขียนคำสั่งคอมพิวเตอร์โดยภาษาต่างๆ ได้ และเป็นนักพัฒนาโปรแกรมให้คนอื่นเอาไปใช้งาน
ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (System Analysis) เป็นผู้ที่มีหน้าที่พิจารณาว่าองค์กรควรจะใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะใดจึงจะเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุดและได้คุณภาพดี เป็นผู้ออกแบบโปรแกรมก่อนส่งงานไปให้โปรแกรมเมอร์ทำงานในส่วนต่อไป
ผู้บริหารระบบคอมพิวเตอร์ (System Manager) เป็นผู้มีหน้าที่บริหารทรัพยากรทุกชนิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร
4. Data
ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ต้องป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์ พร้อมกับโปรแกรมที่นักคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นเพื่อผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ มี  5 ประเภท คือ ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) ข้อมูลเสียง (Audio Data) ข้อมูลภาพ
ในการนำข้อมูลไปใช้นั้น  เรามีระดับโครงสร้างของข้อมูลดังนี้
โครงสร้างข้อมูล
(Data Structure)
บิต (Bit)
คือ ข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจ
และนำไปใช้งานได้ ซึ่งได้แก่ เลข 0 หรือ เลข 1 เท่านั้น
ไบต์ (Byte) หรือ อักขระ (Character)
ได้แก่ ตัวเลข หรือ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ 1 ตัว เช่น 0, 1, …, 9, A, B, …, Z
และเครื่องหมายต่างๆ ซึ่ง 1 ไบต์จะเท่ากับ 8 บิต หรือ ตัวอักขระ 1 ตัว เป็นต้น
ฟิลด์ (Field)
ได้แก่ ไบต์ หรือ อักขระตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปรวมกันเป็นฟิลด์
เช่น เลขประจำตัว ชื่อพนักงาน เป็นต้น
เรคคอร์ด (Record)
ได้แก่ ฟิลด์ตั้งแต่ 1 ฟิลด์ ขึ้นไป ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องรวมกันเป็นเรคคอร์ด
เช่น ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัว ยอดขาย ข้อมูลของพนักงาน 1 คน เป็น 1 เรคคอร์ด
ไฟล์ (Files) หรือ แฟ้มข้อมูล
ได้แก่ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดรวมกัน ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน
เช่น ข้อมูลของประวัติพนักงานแต่ละคนรวมกันทั้งหมด
เป็นไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับประวัติพนักงานของบริษัท เป็นต้น
ฐานข้อมูล (Database)
คือ การเก็บรวบรวมไฟล์ข้อมูลหลายๆ ไฟล์ที่เกี่ยวข้องกันมารวมเข้าด้วยกัน
เช่น ไฟล์ข้อมูลของแผนกต่างๆ มารวมกันเป็นฐานข้อมูลของบริษัท เป็นต้น
การวัดขนาดข้อมูล
ในการพิจารณาว่าข้อมูลใดมีขนาดมากน้อยเพียงไร  เรามีหน่วยในการวัดขนาดของข้อมูลดังต่อไปนี้
8 Bit       =             1 Byte
1,024 Byte           =             1 KB (กิโลไบต์)
1,024 KB                              =             1 MB (เมกกะไบต์)
1,024 MB             =             1 GB (กิกะไบต์)
1,024 GB              =             1TB (เทระไบต์)
http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/page44.htm
รายชื่อจังหวัดซึ่งมีประชากรในแต่ละจังหวัดในภาคตะวันออก



อันดับ
จังหวัด
ประชากร ปี 2553
ประชากร ปี 2554
ประชากร ปี 2555
1
ชลบุรี
                1316293 
1338656
1364002
2
ฉะเชิงเทรา
673933
679370
685721
3
ระยอง
626402
637736
649275
4
สระแก้ว
544100
545596
548342
5
จันทบุรี
514616
516855
521812
6
ปราจีนบุรี
466572
469652
473770
7
ตราด
220921
222013
222855


http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81_%28%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%29













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น